การทดสอบการควบคุมสุนัขของชมรม TPKC
รายละเอียดการทดสอบการควบคุมสุนัขของชมรม TPKC
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ – เพื่อประเมินการควบคุมของผู้ควบคุมสุนัขว่าสามารถควบคุมสุนัขในที่สาธารณะได้ดีเพียงพอตามมาตรฐานที่ชมรม TPKC กำหนดหรือไม่
สถานที่ทดสอบ – ควรเป็นสถานที่สาธารณะที่ไม่ใช่สถานที่อยู่ประจำของสุนัข และไม่ร้อนจนสามารถเกิดอันตรายต่อสุขภาพของสุนัข
อายุขั้นต่ำที่สามารถทดสอบได้ – สุนัขควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 เดือน
การทดสอบ - ควรประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ
1. ทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน
2. ทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก ภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมสุนัข
3. ทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก โดยปราศจากผู้ควบคุมสุนัข
1. ทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน
1.1 การนั่งตามคำสั่ง - อาจใช้เพียงคำสั่ง หรือการใช้คำสั่งร่วมกับภาษากาย โดยสามารถสั่งได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะสั่งให้นั่งโดยสุนัขนั่งอยู่ด้านข้าง หรือด้านหน้าผู้ควบคุมก็ได้
เกณฑ์การให้คะแนน
- สั่ง 1 ครั้งแล้วทำทันที ดีเยี่ยม
- สั่ง 2-3 ครั้งแล้วทำ พอใช้
- สั่งครั้งที่ 3 แล้วยังไม่ทำ ไม่ผ่าน
1.2 การหมอบตามคำสั่ง - อาจใช้เพียงคำสั่ง หรือการใช้คำสั่งร่วมกับภาษากาย โดยสามารถสั่งได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยการหมอบตามคำสั่งนี้ ต้องเริ่มจากสุนัขยืนอยู่และลงหมอบได้เลยโดยไม่ต้องสั่งให้นั่งก่อน
เกณฑ์การให้คะแนน
- สั่ง 1 ครั้งแล้วทำทันที ดีเยี่ยม
- สั่ง 2-3 ครั้งแล้วทำ พอใช้
- สั่งครั้งที่ 3 แล้วยังไม่ทำ ไม่ผ่าน
1.3 การรอหรือคอยตามคำสั่ง - อาจใช้เพียงคำสั่ง หรือการใช้คำสั่งร่วมกับภาษากาย โดยสามารถสั่งได้ไม่เกิน 3 ครั้ง สุนัขจะรอในท่าทาง นั่ง หรือ หมอบ ก็ได้ โดยอาจใช้คำสั่งให้รอแยกออกไปต่างหาก หรือสามารถใช้เพียงคำสั่ง นั่ง หรือ หมอบ และให้คงท่าทางนั้นอยู่ได้ตลอดเวลาที่ผู้ควบคุมสุนัขหันหลังและเดินห่างออกไปอย่างน้อย 5 เมตรและเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาที
เกณฑ์การให้คะแนน
- สุนัขรอจนผู้ควบคุมเดินห่างไปอย่างน้อย 5 ก้าว และรอในพื้นที่รอจนครบ 30 วินาที จากการสั่งครั้งแรก ดีเยี่ยม
- สุนัขรอจนผู้ควบคุมเดินห่างไปอย่างน้อย 5 ก้าว และรอในพื้นที่รอจนครบ 30 วินาที จากการสั่งครั้งที่ 2-3 พอใช้
- สุนัขรอจนผู้ควบคุมเดินห่างไปอย่างน้อย 5 ก้าว มีการเปลี่ยนท่าทางการรอหรือคอยด้วยตัวเอง และรอในพื้นที่รอจนครบ 30 วินาที ไม่ผ่าน
- สุนัขรอจนผู้ควบคุมเดินห่างไปอย่างน้อย 5 ก้าว แต่รอในพื้นที่รอไม่ครบ 30 วินาที ไม่ผ่าน
- สุนัขไม่อยู่ในพื้นที่รอระหว่างผู้ควบคุมเดินห่างไปอย่างน้อย 5 ก้าว ไม่ผ่าน
1.4 การมาหาตามคำสั่ง - อาจใช้เพียงคำสั่ง หรือการใช้คำสั่งร่วมกับภาษากาย โดยสามารถสั่งได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสุนัขต้องอยู่ห่างจากผู้ควบคุมสุนัขอย่างน้อย 5 เมตร
เกณฑ์การให้คะแนน
- สั่ง 1 ครั้งแล้วทำทันที ดีเยี่ยม
- สั่ง 2-3 ครั้งแล้วทำ พอใช้
- สั่งครั้งที่ 3 แล้วยังไม่ทำ ไม่ผ่าน
1.5 การเดินด้วยสายจูงหย่อน – สุนัขสามารถอยู่ทางซ้ายหรือขวาของผู้ควบคุมก็ได้ สามารถเดินล้ำหน้าหรือตามหลังก็ได้ หรือสามารถสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ ตราบเท่าที่สุนัขอยู่ในการควบคุมของผู้ควบคุมในลักษณะของสายจูงที่หย่อนตลอดช่วงเวลาทดสอบ
เกณฑ์การให้คะแนน
- สุนัขเดินในการควบคุมของผู้ควบคุมโดยไม่ลากหรือรั้งจนเป็นที่สังเกตได้ พอใช้
- ผู้ควบคุมต้องใช้แรงเพื่อควบคุมสุนัขไม่ให้เดินลากหรือรั้งจนเป็นที่สังเกตได้ ไม่ผ่าน
ตารางเทียบคะแนนส่วนการทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน
ดีเยี่ยม
80 คะแนน
พอใช้
60 คะแนน
ไม่ผ่าน
0 คะแนน
เกณฑ์คะแนนที่ผ่านในส่วนการทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน 300 คะแนน
นอกจากนี้ สุนัขต้องไม่แสดงภาษากายที่บ่งบอกถึงท่าทางก้าวร้าว ความกังวล ความเครียด หรือความหวาดกลัว จนสามารถสังเกตได้ ตลอดระยะเวลาในการทดสอบการเชื่อฟังคำสั่ง
2. ทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก ภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมสุนัข
2.1 ผู้ควบคุมจูงสุนัขอยู่ คนแปลกหน้าเดินเข้าหาและทักทายเจ้าของอย่างเป็นมิตรในระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร โดยไม่สนใจสุนัข
- สุนัขแสดงอาการปกติ ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว หรือแสดงอาการว่าถูกคุมคาม ไม่ผ่าน
2.2 ผู้ควบคุมจูงสุนัขอยู่ คนแปลกหน้าเข้าทักทายโดยไม่สัมผัสลำตัวสุนัขจากทางด้านหน้าสุนัขในระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร โดยระหว่างนี้ผู้ควบคุมสามารถพูดเพื่อชมเชยสุนัขได้ แต่ห้ามใช้คำสั่งหรือการใช้เสียงเพื่อทำโทษหรือกดพฤติกรรมไม่ให้สุนัขแสดงอาการผิดปกติ
- สุนัขแสดงอาการปกติ ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว หรือแสดงอาการว่าถูกคุมคาม ไม่ผ่าน
2.3 ผู้ควบคุมสุนัขจูงสุนัขเดินผ่านฝูงชนที่สุนัขไม่รู้จักอย่างน้อย 4 คน โดยคนที่เดินผ่านไปมาไม่ต้องสนใจสุนัข ระหว่างเดินผู้ควบคุมสามารถพูดเพื่อชมเชยสุนัขได้ แต่ห้ามใช้คำสั่งเพื่อทำโทษหรือกดพฤติกรรมไม่ให้สุนัขแสดงอาการผิดปกติ
- สุนัขแสดงอาการปกติ ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล แสดงอาการว่าถูกคุกคาม หรือกระโจนใส่คนที่เดินผ่านไปมา ไม่ผ่าน
2.4 ผู้ควบคุมสุนัขจูงสุนัขเดินผ่านสุนัขตัวอื่นที่เดินสวนมาในระยะห่าง 1 เมตร โดยไม่มีผู้ควบคุมสุนัขอยู่ระหว่างสุนัขทั้ง 2 ระหว่างเดินผู้ควบคุมสามารถพูดเพื่อชมเชยสุนัขได้ แต่ห้ามใช้คำสั่งเพื่อทำโทษหรือกดพฤติกรรมไม่ให้สุนัขแสดงอาการผิดปกติ
- สุนัขไม่สนใจสุนัขตัวอื่นที่เดินสวนมา ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการสนใจสุนัขที่เดินผ่านไปในลักษณะของภาษาท่าทางที่ไม่บ่งบอกถึงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว หรือกังวล และไม่กระโจนใส่สุนัขตัวอื่น ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล แสดงอาการว่าถูกคุกคาม หรือกระโจนใส่สุนัขที่เดินผ่านไป ไม่ผ่าน
เกณฑ์คะแนนที่ผ่านในส่วนทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก ภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมสุนัข
สุนัขต้องได้คะแนน “ผ่าน” ในทั้ง 4 การทดสอบ
3. ทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก โดยปราศจากผู้ควบคุมสุนัข (ใช้การทดสอบ 4 ชนิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ทดสอบ) ก่อนการทดสอบ ให้ผู้ควบคุมสุนัขผูกสุนัขไว้หรือฝากสุนัขไว้กับคนอื่นที่สุนัขไม่คุ้นเคย แล้วเดินจากไปให้พ้นสายตาสุนัข สุนัขจะอยู่ในท่าทางใดก็ได้ระหว่างการทดสอบ
3.1 มีคนเดินผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 1 เมตร แล้วกางร่มขึ้นมา
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่ร่มหรือผู้กางร่ม ไม่ผ่าน
3.2 มีคนเดินด้านหลัง ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 1 เมตร แล้วทิ้งวัสดุโลหะให้เกิดเสียงดัง
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่ร่มหรือผู้กางร่ม ไม่ผ่าน-
3.3 มีคนจูงสุนัขเดินผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 2 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่สุนัขที่เดินผ่าน ไม่ผ่าน
3.4 มีคนวิ่งผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 1 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่ผู้วิ่ง ไม่ผ่าน
3.5 มีคนขี่จักรยานผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 2 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่จักรยาน ไม่ผ่าน
3.6 มีคนขี่จักรยานยนต์ผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 2 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่จักรยาน ไม่ผ่าน
3.7 มีคนเดินใช้ไม้เท้าเดินผ่าน ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 1 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่จักรยาน ไม่ผ่าน
3.8 มีคนเข็นรถเข็น (อาจเป็นรถเข็นมีคนนั่ง รถเข็นใส่สุนัข หรือรถเข็นขนของ) ห่างจากจุดที่สุนัขอยู่เป็นระยะประมาณ 1 เมตร
- สุนัขแสดงอาการปกติ หรือแสดงอาการสนใจด้วยภาษากายที่ดี ผ่าน
- สุนัขแสดงอาการหวาดกลัว ก้าวร้าว กังวล หรือกระโจนใส่จักรยาน ไม่ผ่าน
เกณฑ์คะแนนที่ผ่านในส่วนทดสอบพฤติกรรมสุนัขในสถานการณ์ภายนอก โดยปราศจากผู้ควบคุมสุนัข
สุนัขต้องได้คะแนน “ผ่าน” ในทั้ง 4 การทดสอบ
ทั้งนี้ อุปกรณ์การควบคุมสุนัขระหว่างการทดสอบทั้ง 3 ส่วนต้องไม่ใช่อุปกรณ์ที่สามารถสื่อความหมายถึงการใช้ความรุนแรงกับสุนัข เช่นโซ่กระตุก (Choke Chain) ปลอกคอหนามสำหรับกดหรือบีบคอด้านใน (Prong Collar) หรือปลอกคอไฟฟ้า (Electric Collar) เพื่อไม่สื่อความหมายเชื่อมโยงไปถึงการกระทำที่ทำให้สุนัขได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ หรือได้รับความเจ็บปวด ตามความหมายของคำว่า “การทารุณกรรม” ตามความหมายของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ในระหว่างทดสอบย่อยของแต่ละส่วนการทดสอบ ไม่อนุญาตให้นำของรางวัลอื่นใดมาล่อสุนัขหรือให้แก่สุนัขนอกจากคำชมเชย แต่สามารถให้รางวัลที่สุนัขชอบตอนเสร็จสิ้นการทดสอบทั้งหมดในแต่ละส่วนได้ รวมทั้งไม่อนุญาตให้ลงโทษสุนัขหรือกระชากสายจูงระหว่างการทดสอบทั้ง 3 ส่วน
แนวทางการเผยแพร่การทดสอบการควบคุมสุนัขของชมรม TPKC
1. เผยแพร่รายละเอียดใน Facebook เพื่อให้สมาชิกชมรม TPKC ได้ทราบ
2. ดำเนินการจัด workshop เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรของชมรม
3. ดำเนินการจัด workshop เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้สนใจกิจกรรม
4. รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมการทดสอบ ในทุกครั้งที่มีการจัดงานประกวดของชมรม TPKC อาจแบ่งพื้นที่จัดงานส่วนหนึ่งไว้สำหรับการทดสอบโดยเฉพาะ
5. ช่วยโปรโมทสุนัขที่ผ่านการทดสอบเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่สุนัขตัวที่ผ่านการทดสอบรวมถึงสร้างคุณค่าให้แก่กิจกรรม เพื่อให้เจ้าของสุนัขที่เป็นสมาชิกท่านอื่นเกิดความสนใจในการนำสุนัขมาทดสอบมากขึ้น
ผลลัพท์และผลกระทบของกิจกรรมการทดสอบการควบคุมสุนัขของชมรม TPKC
1. เปิดโอกาสให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์พิทบูลมีกิจกรรมทำกับสุนัขมากขึ้น
2. เจ้าของคำนึงถึงเรื่องนิสัยและพฤติกรรมของสุนัขตนเอง รวมทั้งคำนึงการควบคุมสุนัขของตนเองมากขึ้น
3. มีสุนัขสายพันธุ์พิทบูลที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบว่าพร้อมถูกควบคุมในระดับที่สามารถอยู่ร่วมกับสาธารณชนในสังคมไทยมากขึ้น
4. ชื่อเสียงของสุนัขสายพันธุ์พิทบูลที่สังกัดชมรม TPKC พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
5. เพื่อเป็นแนวทางในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ที่มีลักษณะนิสัยเหมาะสม เพื่อพัฒนาสายพันธุ์สุนัขภายในชมรมTPKCต่อไป
19-03-2024 : By Superkim Combo