www.thaipitbullkennelclub.com

มาตรฐานสุนัข Concept dog ฉบับแก้ไข 15/3/2566

มาตรฐานสุนัข Concept dog ของชมรมTPKC

 *ลักษณะโดยทั่วไป
 ต้องแสดงลักษณะใหญ่โดดเด่น ดูโดยรวมมีความแข็งแกร่งอย่างมาก แต่ยังมีอารมณ์ที่สงบ ควบคุมได้ เป็นมิตรที่ดี  มีมัดกล้ามเนื้อชัดเจนร่างกายกำยำล่ำสัน มีหัวที่หนาลักษณะเหลี่ยม ตื่นตัวต่อสภาพแวดล้อม เคลื่อนไหวได้ดี มีชีวิตชีวา ตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อม ขนาดตัวควรมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า60กิโลกรัม มีความเป็นมิตรต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ความหวาดกลัว ระแวง ดุ เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง
-  ข้อบกพร่อง
 ขนาดเล็กกว่ามาตรฐานกำหนด ดูไม่แข็งแรง
 ขี้ขลาด ขี้กลัว
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
อัณฑะใบเดียว หรือไม่มี
- ข้อห้ามร้ายแรง
 ก้าวร้าวต่อมนุษย์

 *หัว
 มีความใหญ่และกว้าง แต่ไม่ได้ผิดไปจากสัดส่วนรูปร่างทั้งหมดของสุนัข มีความลึกของดั้งที่พอเหมาะ ริมฝีปากย้อยได้บ้าง ถือว่าพอรับได้ กระบอกปากมีขนาดกว้างและเป็นท่อนใหญ่ หรือค่อนข้างเป็นทรงสี่เหลี่ยม ความยาวของกระบอกปากเท่ากับ2/3ของความยาวของกะโหลกศีรษะ ด้านบนของกระบอกปากเป็นแนวตรง (ไม่โค้ง หรือเบี้ยว) ตำแหน่งฐานศรีษะอยู่สูงกว่าแนวของเส้นหลัง ขากรรไกรล่าง กว้าง และลึก สันจมูกทำมุม 70-90องศา อาจจะมีรอยย่นที่ศรีษะได้
- ข้อบกพร่อง
 ริมฝีปากห้อยย้อยมากเกินไป

 *จมูก
 มีขนาดใหญ่ มีรูจมูกที่เปิดกว้าง จมูกทุกๆสีเป็นที่ยอมรับ สีของจมูกต้องกลมกลืนกับสีผิวหนัง
- ข้อบกพร่อง
พบรงควัตถุน้อย
 รูจมูกตีบ หรือเล็ก

 *ตา
 มีขนาดปานกลาง กลมรีจนค่อนข้างกลม แยกห่างกันอย่างพอเหมาะ ตั้งอยู่ต่ำกว่ากะโหลกศีรษะ ไม่ควรมีตาสีฟ้าทั้ง2ข้าง ไม่ควรมีหนังตาที่ห้อย
- ข้อบกพร่อง
พบรงควัตถุน้อย
หนังตาห้อยย้อย
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
 ตาสีเผือกแท้
 ตาบอด

 *ฟัน
 มีชุดฟันที่ครบถ้วนสมบูรณ์ระยะห่างสม่ำเสมอกัน ขาวสะอาด ฟันสบกันแบบกรรไกรเป็นที่พอใจมากกว่าแบบอื่นๆ
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
 ฟันบนหรือฟันล่าง ที่ยื่นมากเกินไปจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตปกติ

 *หู
 ตัด หรือไม่ตัดก็ได้ มีขนาดกลาง หากไม่ตัดหูควรมีลักษณะ พับ ปิดสนิทแนบกับหัว ปลายหูอยู่ระดับเดียวกับตา
- ข้อบกพร่อง
 หูตั้ง หูกาง
หูมีขนาดใหญ่
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
หูหนวก
ปลายหูกลมมน

 *คอ
 คอยาวพอเหมาะ และเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ผิวหนังหนา หลวมเล็กน้อยบริเวณรอบๆคอ คอจะค่อยๆกว้างขึ้นจากจุดเชื่อมกับกะโหลกศีรษะไปยังบริเวณหัวไหล่และทำมุมกันอย่างเหมาะสม ผิวหนังใต้คอต้องมีเหนียงห้อยลงมาไม่มากเกินไป
- ข้อบกพร่อง
คอยาว หรือสั้นมากเกินไป
เหนียงคอห้อยย้อยมากเกินไป
 
 *ลำตัว
 ลำตัวมีความสัมพันธ์ควบคู่กันอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านความกว้างและลึกของหน้าอก มีซี่โครงกางออกและแบนลงกับลำตัว (ไม่โค้งเป็นทรงกลมแบบถัง) ซี่โครงแต่ละซี่อยู่ใกล้กัน ความกว้างของหน้าอกอาจมากกว่าความลึก แต่ต้องไม่มากจนเกินไป เส้นหลังได้ระดับเดียวกันและเป็นเส้นตรง ส่วนบนสุดของสะโพกลาดลงเล็กน้อยไปยังส่วนฐานของหาง ช่องท้องกว้าง และสั้น
- ข้อบกพร่อง
หลังไม่เป็นเส้นตรง
 หลังหัก
 
*ไหล่-ขาหน้า
 กระดูกหัวไหล่(กระดูกสะบัก)ยาว กว้าง และล่ำสันมีกล้ามเนื้อ และมีมุมที่หัวไหล่ที่เหมาะสม มีสัดส่วนของหัวกับไหล่ไม่น้อยกว่า1/2 กระดูกท่อนขาหน้าส่วนบนยาวคร่าวๆเท่ากันกับความยาวของกระดูกหัวไหล่ และเชื่อมต่อกันเป็นมุมฉาก ขาหน้าแข็งแรงและกำยำมีกล้ามเนื้อและกางออกเล็กน้อยยังขาส่วนบน ข้อศอกตั้งชิด หรือ ห่างจากลำตัวเล็กน้อย มองจากด้านหน้า โดยไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ขาหน้าตั้งห่างออกจากกันอย่างเหมาะสมและตั้งฉากกัน
- ข้อบกพร่อง
 ข้อขาหน้าลาดมากเกินไป จนทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ
 ตำแหน่งของศอกเปิดจากลำตัวมากเกินไป
 อุ้งเท้ากลม
 
*สะโพก-ขาหลัง
 โครงสร้างส่วนหลังแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ และกว้าง สะโพกมีกล้ามเนื้อที่เต็มและลึก โคนขาพัฒนาได้ดี มีกล้ามเนื้อที่หนา มองจากด้านข้าง จุดเชื่อมกับข้อเท้ามีมุมงองุ้มที่ดี ฝ่าเท้าหลังตั้งลงเป็นมุมฉากกับพื้น มองจากด้านหลัง ฝ่าเท้าหลังตรงและขนานซึ่งกันและกัน
- ข้อบกพร่อง
 มุมขาหลังที่น้อยเกินไป
 ข้อขาหลังบิด เข้า-ออก มากเกินไปจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
 
*หาง
 โคนใหญ่ ปลายเล็ก มีความยาวถึงข้อขาหลัง ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำ ไม่ยกขึ้นหรือตัดหาง ไม่มีส่วนหัก คด งอ ม้วน
- ข้อบกพร่อง
 หางหัก หางคด งอ ม้วน หรือรูปแบบอื่นใดที่ไม่ใช่หางตรง
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
 หางที่ถูกตัด หรือศัลยกรรม
 
*ผิวหนัง-ขน-สี
 ขนสั้น มีความมันเงา สียอมรับได้ทุกสี ยกเว้นสีเผือกแท้
- ข้อบกพร่องร้ายแรง
 ขนยาว ขนหัก ขนหยิก หรือรูปแบบอื่นใดที่ไม่ใช่ขนสั้น
 สีเผือก

*ส่วนสูง-น้ำหนัก
 ควรสูงมากกว่า26นิ้ว หนักยังคงความสมส่วนไม่อ้วนมากเกินไป
- ข้อบกพร่อง
 ขนาดเล็กเกินไป ดูไม่แข็งแรง
อ้วนมากเกินไปจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
 
คำอธิบายกำกับเอกสาร
ข้อบกพร่อง Faults
คือ ข้อผิดพลาด หรือตำหนิที่ถูกปรับให้เป็นข้อเสีย แต่ไม่ถือว่าขาดคุณสมบัติในการประกวด
ในระดับขอข้อบกพร่อง ขึ้นอยู่กับกรรมการจะตัดสินหักคะแนนในแต่ละส่วนที่บกพร่องมากน้อยเพียงใด
ข้อบกพร่องร้ายแรง Serious Faults
คือ ข้อบกพร่อง หรือตำหนิ ที่ไม่ควรมีหรือพบ ในสุนัขนั้นๆ หากมีหรือพบ ถือว่าสุนัขตัวนั้นขาดคุณสมบัติในการประกวด แต่ไม่ร้ายแรงถึงในระดับต้องเชิญออก
ข้อห้ามร้ายแรง Disqualification
คือ ข้อบกพร่อง ที่ต้องไม่มีในสุนัขนั้นๆ หากพบเท่ากับคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการประกวด สามารถเชิญออกจากการประกวด
 
 
 

15-03-2023 : By Superkim Combo

tpkc

ข่าวสารและกิจกรรมทั้งหมด