มาตราฐาน American bully ของชมรม ไทยพิทบูลเคนเนลคลับ ฉบับแก้ไข 2024
American Bully
- ลักษณะโดยทั่วไป
ต้องแสดงลักษณะที่มีความแข็งแกร่งอย่างมาก มีขนาดกะทัดรัดถึงขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อชัดเจนร่างกายกายาล่าสัน มีหัวที่หนาลักษณะเหลี่ยม ตื่นตัวต่อสภาพแวดล้อม เคลื่อนไหวได้ดี มีชีวิตชีวา ตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อม โดดเด่นทางด้านกายภาพและรูปร่างท่าทางที่ดูดีมาก มีความเป็นมิตรต่อสุนัข เด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ความก้าวร้าวและหวาดกลัว เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง
ข้อบกพร่องร้ายแรง
ขี้อาย ขี้ขลาด ก้าวร้าวต่อสัตว์
อัณฑะใบเดียว หรือไม่มีอัณฑะ
ข้อห้ามร้ายแรง
ก้าวร้าวต่อมนุษย์
- ส่วนสูง-น้าหนัก
ความสูง Standard Bully 17-20 นิ้วในตัวผู้ และ 16-19 นิ้วในตัวเมีย Pocket Bully 17-15 นิ้วในตัวผู้ และ 16-14 นิ้วในตัวเมีย XL Bully ความสูงมากกว่า 20 นิ้วในตัวผู้ และสูงกว่า 19 นิ้วในตัวเมีย ส่วนสูงและน้าหนักควรได้สัดส่วนกัน สุนัขควรมีสุขภาพที่ดี และไม่ควรอ้วนเกินไป
- หัว
ดูใหญ่โต มีสัดส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับลาตัว มีความหนาในทุกสัดส่วน มีกล้ามเนื้อตรงแก้มปรากฏชัดเจน กระบอกปากสั้นหรือยาวปานกลางและลึก มีความยาวเป็น 1/3 ¼ ของความยาวกะโหลก มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เกือบตั้งฉากในลาดับที่ต่าลงมาจากตา เห็นแนวขากรรมไกรชัดเจนบ่งบอกถึงความแข็งแรง ริมฝีปากกึ่งปิดและต้องเรียบเสมอกัน ริมฝีปากที่หลวมบ้างเป็นที่ยอมรับในสุนัขที่รูปร่างใหญ่ คอมีขนาดใหญ่มาก โค้งเล็กน้อย เรียวเล็กลงจากหัวไหล่ไปด้านหลังกะโหลกศีรษะ
ข้อบกพร่อง
ริมฝีปากห้อย
หัว คอขนาดเล็ก ไม่สัมพันธ์กับตัว
กระบอกปากเรียวเล็ก ดูไม่มีพลัง
ข้อบกพร่องร้ายแรง
แนวขากรรไกรบิดเบี้ยว
- ฟัน
ฟันสบแบบกรรไกร มีสุขภาพฟันที่ดี
ข้อบกพร่อง
ฟันบนชนกับฟันล่าง หรือฟันบนยื่นล้ำฟันล่าง/ฟันล่างยื่นล้ำฟันบนที่มีความห่างไม่เกิน1/4นิ้ว (0.6 เซ็นติเมตร)
ฟันไม่ครบ
ข้อบกพร่องร้ายแรง
ฟันบนหรือฟันล่าง ยื่นล้ำกันมากเกินไป(มากกว่า1/4นิ้วหรือ0.6เซ็นติเมตร) จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต
แนวฟันผิดรูปชัดเจน
- ตา
ตาสีเสมอกันทั้งสองข้าง ยกเว้นสภาวะผิวเผือก ตามีรูปทรงรีแบบไข่จนถึงค่อนข้างกลมเล็กน้อย อยู่ต่าลงจากกะโหลกศีรษะ และตั้งอยู่ห่างกัน
ข้อบกพร่อง
ตา2สี
ข้อบกพร่องร้ายแรง
ตาสีฟ้า หรือตาที่เป็นลักษณะของสีเผือก
- หู
ตั้งอยู่ในตาแหน่งที่สูง จะตัดหรือไม่ก็ได้
ข้อบกพร่อง
หูตั้ง หูกางแบบค้างคาว
- ลำตัว
มีซี่โครงกางอออกและแบนลงกับลำตัว ไม่โค้งเป็นทรงกลมแบบถัง"Barrel" ช่องท้องลึก หน้าอกควรลึกและกว้าง และซี่โครงทั้งหมดชิดกัน หลังลาดลงเล็กน้อยจากหัวไหล่หรือราบตรง มีความลาดสั้นๆดูกลมกลืนจากสะโพกไปยังตาแหน่งของหาง ท้ายสูงเล็กน้อยเป็นที่ยอมรับในสุนัขขนาดใหญ่ ควรมีรูปร่างเป็นสีเหลี่ยมจัตุรัสเมื่อมองจากกด้านข้าง
ข้อบกพร่อง
หลังแอ่น
หน้าอกทรงกลมแบบถัง
อกแคบ เรียวบาง
- ไหล่-ขาหน้า
ไหล่แข็งแรง มีกล้ามเนื้อชัดเจน ตึงผึ่งผาย ทามุม 45 องศา ขาหน้าเป็นแนวตรงโดยตลอด กระดูกใหญ่และกลม ข้อเท้าตั้งตรง
ข้อบกพร่อง
กระดูกขาหน้าเล็ก ดูไม่แข็งแรง
ข้อเท้าลาด
- สะโพก-ขาหลัง
สะโพกมีกล้ามเนื้อชัดเจน ขาหลังมีกล้ามเนื้อคลุมลงมาถึงข้อขา ไม่บิดเข้าหรือออก บิดเพียงเล็กน้อยเป็นที่ยอมรับได้ในสุนัขขนาดใหญ่
ข้อบกพร่อง
ขาหลังบิดเข้า หรือบิดออก
ข้อบกพร่องร้ายแรง
ขาหลังบิดเข้าหรือกางออกมาเกินไปจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของสุนัข
- เท้า
มีขนาดกลาง กระชับ มีข้อขาหน้าตั้งสูง บิดออกได้เล็กน้อย
ข้อบกพร่อง
เท้าแบะออก
- หาง
โคนใหญ่ ปลายเล็ก มีความยาวถึงข้อขาหลัง ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำ ไม่ยกขึ้นหรือตัดหาง ไม่มีส่วนหัก คด งอ
ข้อบกพร่อง
หางหัก
หางยาวเกินไป หางสั้นเกินไป
หางอยู่ในตำแหน่งที่สูง
ข้อบกพร่องร้ายแรง
หางบิดเบี้ยว หางเป็นปม หางม้วน
ตัดหาง
- สี-ขน
ขนสั้น ยอมรับได้ทุกสี ยกเว้นสีที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาทางพันธุกรรม
ข้อบกพร่อง
ขนยาว ขนหยิก ขนเป็นพู่ที่หาง
ข้อบกพร่องร้ายแรง
สีเผือก, สีเมิล
- การเคลื่อนไหว
ต้องเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง พลังการขับเคลื่อนมาจากร่างกายส่วนหลัง การเคลื่อนไหวอุ้ยอ้ายบ้าง เป็นที่ยอมรับได้ในรุ่นใหญ่
ข้อบกพร่อง
ก้าวเท้าช้า อุ้ยอ้าย ในสุนัขขนาดเล็กและขนาดกลาง
เคลื่อนไหวไม่มีพลัง ดูอ่อนแอ
คำอธิบายกากับเอกสาร
- ข้อบกพร่อง Faults
คือ ข้อผิดพลาด หรือตาหนิที่ถูกปรับให้เป็นข้อเสีย แต่ไม่ถือว่าขาดคุณสมบัติในการประกวด
ในระดับขอข้อบกพร่อง ขึ้นอยู่กับกรรมการจะตัดสินหักคะแนนในแต่ละส่วนที่บกพร่องมากน้อยเพียงใด
- ข้อบกพร่องร้ายแรง Serious Faults
คือ ข้อบกพร่อง หรือตาหนิ ที่ไม่ควรมีหรือพบ ในสุนัขนั้นๆ หากมีหรือพบ ถือว่าสุนัขตัวนั้นขาดคุณสมบัติในการประกวด แต่ไม่ร้ายแรงถึงในระดับต้องเชิญออก
- ข้อห้ามร้ายแรง Disqualification
คือ ข้อบกพร่อง ที่ต้องไม่มีในสุนัขนั้นๆ หากพบเท่ากับคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการประกวด สามารถเชิญออกจากการประกวด